“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เปิดเผยข้อมูลครัวเรือนไทยในปี 64 มีรายได้เฉลี่ย 27,352 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ย 26,018 บาทต่อเดือนในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด แม้รายได้เพิ่มแต่ค่าใช้จ่ายครัวเรือนก็เพิ่มสูงขึ้นมาก อยู่ที่ 21,616 บาทต่อเดือน จาก 20,742 บาทต่อเดือนในปี 62 คิดเป็นสัดส่วน 79% ต่อรายได้ต่อเดือน ซึ่งหากครัวเรือนมีภาระอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาระผ่อนหนี้ ก็จะทำให้มีเงินเหลือเก็บสะสมเป็นเงินออมน้อยลง และหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก45.2%ในปี62มาอยู่ที่51.2%ในปี64ทำให้เห็นว่าครัวเรือนไทยเปราะบางทางการเงินมากขึ้น
ทั้งนี้ หนี้ที่เพิ่มขึ้นบางส่วนมาจากกู้เงินนอกระบบ โดยพบว่ามีหนี้นอกระบบอย่างเดียว เพิ่มจาก4.7%มาอยู่ที่5.2%และครัวเรือนที่มีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ขยับขึ้นจาก3.5%เป็น 4% ซึ่งหนี้สินเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ของครัวเรือน หากดูหนี้สินเฉลี่ยของครัวเรือนอยู่ที่ 205,679 บาทในปี 64 เพิ่มขึ้น 1.25 เท่าเมื่อเทียบกับระดับหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่ 164,005 ในปี 62 ขณะที่รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 1.05 เท่า เท่านั้น
ขณะที่ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย มีประชาชนรายย่อยอีกกว่า 4.34 ล้านบัญชี ที่ยังคงอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ คิดเป็น 16.2% ของสินเชื่อรายย่อยรวมของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เห็นว่าฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและประชาชนรายย่อย ยังคงมีความอ่อนไหวต่อสภาวะผันผวนและไม่แน่นอนของเส้นทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงทิศทางดอกเบี้ยที่อาจเริ่มขยับขึ้นในอนาคต
สำหรับหนี้ครัวเรือนไทยในปี 64 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.58 ล้านล้านบาท เติบโต 3.9% เทียบกับปี63แต่จากเศรษฐกิจไทยในปี 64 เติบโตช้า ทำให้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 90.1% จาก 89.7% ในปี 63 โดยคาดว่าหนี้ครัวเรือนไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงในกรอบ 86.5-88.5% ต่อจีดีพีในปี 65 แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต่ำลง เมื่อเทียบกับระดับ 90.1% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 64 แต่ก็ยังนับว่าเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ค่อนข้างสูงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ข้อมูลหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สัดส่วน 34.5% ของหนี้ครัวเรือนรวม, เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ สัดส่วน 18.1% ของหนี้ครัวเรือนรวม และเงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สัดส่วน 12.4% ของหนี้ครัวเรือนรวม
ขณะที่ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนพึ่งพาบริการสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักประกันในการกู้ยืม เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น สัดส่วนหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลขยับขึ้นมาที่ 8% ของหนี้ครัวเรือนรวมในปี 64 จากที่มีสัดส่วน 7% ของหนี้ครัวเรือนรวมในปี 62 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด-19 เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและแก้ไขปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เพราะภาพรวมเศรษฐกิจและรายได้ของภาคครัวเรือนในหลาย ๆ ส่วน ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นจากผลกระทบโควิด-19 ที่ลากยาวยืดเยื้อ
ด้านเงินออมของภาคครัวเรือนซึ่งอยู่ในรูปเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะขยับขึ้นต่อเนื่องจาก 12.28 ล้านล้านบาทในปี 63 มาอยู่ที่ 12.87 ล้านล้านบาทในปี 64 คิดเป็น 79.5% เมื่อเทียบกับจีดีพี และ 88.2% เมื่อเทียบกับยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน แต่คงต้องยอมรับว่า หากมองภาพในระดับครัวเรือน สถานะทางการเงินและระดับเงินออมของแต่ละครัวเรือนย่อมมีความแตกต่างกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง